Description
เกี่ยวกับ PMBOK® Guide
ในปี 1983 กลุ่มอาสาสมัครอุทิศตนของสถาบันการบริหารโครงการ (PMI) ที่รวมตัวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการใหม่ที่จะสร้างองค์ความรู้ในการบริหารโครงการ ความพยายามนี้ได้พัฒนาเป็นมาตรฐานการบริหารโครงการสากลในภายหลังเป็น ‘A Guide to the Project Management Body of Knowledge (PMBOK® Guide)’ ถึงแม้ว่าแนวคิดเชิงธุรกิจได้รับการพิจารณาว่าเปลี่ยนแปลงไปแล้วในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิธีการปฏิบัติที่ดีในการบริหารโครงการยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของผลสัมฤทธิ์เชิงธุรกิจ กลุ่มอาสาสมัครได้เพิ่มมูลค่า กลยุทธ์ระดับสูง และเพิ่มความได้เปรียบในเชิงแข่งขันขององค์กร
ปัจจุบันนี้ PMBOK® Guide เป็นที่รู้จักในนามของศักยภาพที่เป็นที่เข้าใจได้ในวิถีปฏิบัติในการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล สืบเนื่องเพราะมันได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีเอกภาพโดยผู้จัดการโครงการต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันแก่ผู้จัดการโครงการอื่น ๆ คณะทำงานหลักที่ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติการ/อาสาสมัคร 100 คน ที่มีส่วนร่วมในการทบทวนเนื้อหาแต่ละฉบับแก้ไขของ PMBOK® Guide ในระยะเนื้อหาการส่งมอบฉบับร่างซึ่งได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อให้ทำการทบทวนและให้คำวิจารณ์ อีกทั้งคณะทำงานหลักได้ทำการทบทวนและพิจารณาคำวิจารณ์ที่ได้รับแต่ละรายการอีกด้วย
การได้รับคำวิจารณ์มากกว่า 8,500 รายการระหว่างการดำเนินการจัดทำ PMBOK® Guide – ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6 ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องของกลุ่มการบริหารโครงการและได้รับเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติการทุก ๆ คน
เกี่ยวกับฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6
สำหรับการจัดทำครั้งแรก PMBOK® Guide ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6 รวมถึงข้อแนะนำในการประยุกต์ใช้งานในวิธีปฏิบัติเชิงการบริหารโครงการที่ดีภายใต้สภาพแวดล้อมแบบแอจายล์หรือแบบปรับเปลี่ยนได้ การมีความรู้ใหม่นี้ก่อให้เกิดบุคลากรที่มีความแข็งแกร่งที่สุด และมีประโยชน์หลายด้าน สำหรับผู้ปฏิบัติการในการบริหารโครงการในปัจจุบัน
แต่ละส่วน (หรือ องค์ความรู้) ของ Guide ในปัจจุบันมีส่วนเกริ่นนำ 4 ส่วน ได้แก่ แนวคิดหลัก แนวโน้มและวิถีปฏิบัติที่บรูณาการร่วม ข้อพิจารณาในการปรับใช้เฉพาะให้เหมาะสม และ ข้อพิจารณาสำหรับสภาพแวดล้อมแบบแอจายล์และแบบปรับเปลี่ยนได้
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6 ยังมุ่งเน้นน้ำหนักมากขึ้นในส่วนของมุมมององค์ความรู้เชิงธุรกิจและกลยุทธ์ของการบริหารโครงการ มีการอภิปรายเกี่ยวกับเอกสารเชิงธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารโครงการใน 3 บทแรก ซึ่งรวมส่วนใหม่ในเรื่องบทบาทของผู้จัดการโครงการ ซึ่งได้อธิบาย สามเหลี่ยมความสามารถของ PMI รวมถึงกลุ่มทักษะต่าง ๆ ที่เป็นที่ต้องการขององค์กรที่ทำให้ผู้จัดการโครงการมีความสามารถในการแข่งขันและมีความสัมพันธ์ในเชิงเทคนิค ภาวะผู้นำ และกลยุทธ์ รวมทั้ง การจัดการในเชิงธุรกิจ
ข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ในภาคผนวกในส่วน สภาพแวดล้อมของโครงการแบบแอจายล์และแบบปรับเปลี่ยนได้